Archives
- October 2024
- September 2024
- August 2024
- July 2024
- June 2024
- May 2024
- April 2024
- March 2024
- February 2024
- January 2024
- December 2023
- November 2023
- October 2023
- September 2023
- August 2023
- July 2023
- June 2023
- May 2023
- April 2023
- March 2023
- February 2023
- January 2023
- December 2022
- November 2022
- October 2022
- September 2022
- August 2022
- July 2022
- June 2022
- May 2022
- April 2022
- March 2022
- February 2022
- September 2021
- August 2021
- July 2021
- June 2021
- May 2021
- April 2021
- March 2021
- February 2021
- January 2021
- December 2020
- November 2020
- October 2020
- September 2020
- August 2020
- July 2020
- June 2020
- May 2020
- April 2020
- March 2020
- February 2020
- January 2020
- December 2019
- November 2019
- October 2019
- September 2019
- August 2019
- July 2019
- June 2019
- May 2019
- April 2019
- March 2019
- January 2019
- December 2018
- November 2018
- October 2018
- September 2018
- August 2018
- July 2018
- June 2018
- May 2018
- March 2018
- February 2018
- January 2018
- December 2017
- October 2017
- September 2017
- August 2017
- July 2017
- October 2015
- September 2015
- August 2015
- July 2015
- June 2015
- May 2015
- March 2015
- February 2015
- January 2015
- December 2014
- November 2014
- October 2014
- September 2014
- August 2014
- July 2014
- June 2014
- May 2014
- April 2014
- March 2014
- February 2014
- November 2013
-
การดูแลเด็กน้อยและวิธีในการเลือกผลิตภัณฑ์สินค้าให้เหมาะกับเด็ก
คุณพ่อคุณแม่โดยเฉพาะคนที่มีลูกคนแรกอาจไม่ทราบว่าผิวหนังของเด็กมีความแตกต่างจากผิวหนังผู้ใหญ่ในหลายๆ ด้าน สารต่างๆ สามารถซึมผ่านผิวหนังเด็กได้จำนวนมากทำให้เกิดความระคายเคืองได้ง่ายและผิวหนังเด็กยังติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายกว่าผิวหนังผู้ใหญ่ ทำให้ส่วนประกอบหลายชนิดของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่สามารถใช้ได้กับผิวหนังของเด็ก คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ปกป้องผิวหนังที่บอบบางของลูกจากภยันตรายต่างๆ จึงควรมีความรู้ที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีวางขายมากมายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวหนังเด็กควรมีความอ่อนโยนต่อผิวหนัง ไม่ควรมีน้ำหอม สีย้อมหรือแอลกอฮอลล์เป็นส่วนประกอบ เด็กชอบขยี้ตาตัวเองอาจทำให้เกิดการระคายเคืองขึ้นได้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ alpha hydroxy acids จะทำให้ผิวเด็กแสบ แดง เหมือนโดนน้ำร้อนลวกเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะถ้าใช้กับบริเวณที่มีรอยแตกของผิวหนัง ยาหม่องหรือขี้ผึ้งต่างๆ ที่ใช้ทาแก้ผื่นคันก็อาจเป็นอันตรายต่อผิวเด็กที่บอบบางได้เพราะมักมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนัง
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังอาจอยู่ในรูปของสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว การอาบน้ำด้วยน้ำเปล่าอาจไม่สามารถทำความสะอาดผิวหนังเด็กได้ดีเพียงพอ ผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ไม่ควรมีฟอง ไม่มีความเป็นด่างมาก ไม่มียาฆ่าเชื้อโรค (เช่น Trichosan) ไม่มีสีและไม่มีน้ำหอม ฟองจะทำให้ไขมันตามธรรมชาติที่มีอยู่ที่ผิวหนังลดน้อยลงเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้ ความเป็นด่างและยาฆ่าเชื้อโรคทำให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง สีและกลิ่นทำให้เกิดผื่นแพ้ได้ โดยทั่วไปสบู่ก้อนมักก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนังมากกว่าสบู่เหลว อย่างไรก็ตามในการอาบน้ำแต่ละครั้งไม่ควรใช้สบู่มากเกินไป ไม่ควรถูสบู่ทิ้งไว้บนผิวหนังเป็นเวลานาน และหลังการอาบน้ำทุกครั้งควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งจนไม่มีสารเหลือตกค้างบนผิวหนัง แชมพูที่ดีควรมีความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกับน้ำตาเพื่อไม่ให้เกิดความระคายเคืองต่อตา แชมพูควรมีความหนืดเพียงพอที่จะไม่ไหลลงมาโดนตาของเด็ก แชมพูเด็กส่วนใหญ่มักผสมสีและน้ำหอมซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ แชมพูบางชนิดอาจมีส่วนผสมของตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคที่หนังศีรษะ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่จึงควรใส่แชมพูให้ทั่วหนังศีรษะและใช้ผ้าขนหนูหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 10-20 นาทีก่อนล้างออก